รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
ผลกระทบจากโควิด ที่ต้องไม่มองข้าม
หมอดื้อ
หมอธีระวัฒน์ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าอาการหนักหรือเบา ไม่จำกัดอายุ เมื่อการติดเชื้อผ่านพ้นไป จะมีอาการเรื่อรังเกิดขึ้นได้ (subacute และ long COVID) ประมาณ อาจถึง 30% จนถึงครึ่งหนึ่ง
และกระทบทุกอวัยวะ สมองจะพัฒนาไม่เต็มที่ หรืออาการสมองเสื่อม แม้แต่อัมพฤกษ์ มากน้อยต่างกันออกไป
เหล่านี้ จะบั่นทอนคนไทย ประสิทธิภาพ คุณภาพชึวิต และงบประมาณในการรักษาต่อเนื่องยืดยาวทับซ้อนกับผู้ที่ติดเชื้ออาการหนัก
ลักษณะแบบเดียวกับ myalgic encephalomyelitis /chronic fatique syndrome
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทย วันที่ 9 กันยายน 2564 "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามรายงานจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
ติดเชื้อเพิ่ม 16,031 ราย
ติดในระบบ 12,436 ราย
ติดจากตรวจเชิงรุก 2955 ราย
ติดในสถานกักตัว 9 ราย
ติดในเรือนจำ 631 ราย
สะสมระลอกสาม 1,309,687 ราย
สะสมทั้งหมด 1,338,550 ราย
รักษาหาย 15,417 ราย
สะสม 1,182,000 ราย
รักษาตัวอยู่ 143,038 ราย
โรงพยาบาลหลัก 42,018 ราย
โรงพยาบาลสนาม 70,288 ราย
แยกกักที่บ้าน 25,750 ราย
อาการหนัก 4364 ราย
ใช้เครื่องช่วยหายใจ 940 ราย
เสียชีวิต 220 ราย
สะสมระลอกที่สาม 13,637 ราย
สะสมทั้งหมด 13,731 ราย
ติดเชื้อเข้าข่าย 1904 ราย
สะสม 99,353 ราย