โควิดวันนี้รวมatk ยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) โดยเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 1319 คน เป็น 1,432 คน เพิ่มขึ้น 8.56%
ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 438 คน เป็น 521 คน เพิ่มขึ้น 18.94%
จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน 15.32% แต่ลดลงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 4.56%
บุคลากรทางการแพทย์ยังคงติดเชื้อเพิ่มถึง 368 คน (ชาย 101, หญิง 267)
หมอธีระ ยังโพสต์ด้วยว่า
อัพเดตเรื่องการรักษาผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 (Covid-19)
บุคลากรทางการแพทย์เป็นวิชาชีพที่ดูแลรักษาผู้ป่วย โดยให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องหลักฐานเชิงประจักษ์
ที่ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยตามมาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจว่ายา วัคซีน
หรือวิธีการรักษาใดๆ นั้นมีความปลอดภัย และมีสรรพคุณในการรักษาผู้ป่วยได้จริง
กระบวนการศึกษาวิจัยมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีหลายขั้นตอน
ต้องผ่านตั้งแต่การศึกษาในหลอดทดลอง/ห้องปฏิบัติการ และการวิจัยในสัตว์ จนแน่ใจจึงผ่านมาวิจัยในคน
การวิจัยในคนยังมีหลายระยะ ตั้งแต่ระยะที่ 1-3 กว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนตีตราเป็นยา หรือวัคซีน เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก และใช้ในสาธารณะตามข้อบ่งชี้ได้
ทั้งนี้ แต่ละระยะก็มีการวิจัยโดยมีโครงร่างการวิจัยที่ละเอียด วางแผนการวิจัยอย่างรัดกุม และมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะที่ 3 ซึ่งใช้พิสูจน์สรรพคุณ จำเป็นต้องมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากและมีกลุ่มเปรียบเทียบ