ตรวจโควิดrt pcr กับการตรวจ atk เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร เป็นคำถามที่หลายคนยังมีข้อสงสัย และต้องการคำตอบในช่วงเวลาที่โควิด-19 (Covid-19) สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) แพร่เชื้อเป็นจำนวนมาก
นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jiraruj Praise โดยมีข้อความระบุว่า
ATK กับRT_PCR ไม่เหมือนกัน สั้นๆ รู้ไว้จะได้ใช้ถูก
ATK >> (UK ใช้คำว่า LFD-Lateral Flow Device ไม่ได้ใช้คำว่า ATK)
ส่วนใหญ่ตรวจหาโปรตีน Nucleocapsid ซึ่งอยู่ในตัวไวรัส พบเมื่อมีการแบ่งตัวไวรัส หรือ พบในเซลล์ที่ถูกไวรัสติดเข้าไป
ดังนั้น ATK ขึ้น 2 ขีดจึงค่อนข้างแน่ชัดว่า เป็นเชื้อจริงๆ ไม่ใช่ ซากเชื้อ (แบบที่เคยได้ยิน)
RT-PCR >> คือ การตรวจหาสารพันธุกรรม (gene) ของไวรัส ด้วยกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน มีความไวและความจำเพาะในการบอกว่า "พบเชื้อ-detected" ค่อนข้างสูงใช้ดีในการยืนยันการวินิจฉัยโรค
แต่ในคนที่หายจากอาการของโรคแล้วแม้ผ่านไป 14-28วัน ก็ยังสามารถตรวจพบ สารพันธุกรรมของไวรัส ได้ (หลายคนเรียกว่าซากเชื้อ)
แต่ปริมาณจะน้อยมาก (ค่า Ct มากกว่า 30 ขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้มี ตัวตัดที่ชัดเจน)
ดังนั้น เราจึงไม่ใช้ RT-PCRในการตรวจว่าผู้ป่วยหายจากโควิดแล้วหรือยัง
(การใช้ RT-PCR ติดตามการรักษามีที่ใช้โดยเฉพาะบางกรณี แต่ไม่ขอกล่าวถึง)
ดังนั้น ปัจจุบัน หลายประเทศ จึงพยายามนำ "ATK-Antigen Test Kit" มาใช้ประกอบการแนะนำในการสิ้นสุดการกักตัว
เพราะ ถ้าตรวจเจอ ก็ไม่น่าจะเป็นซากเชื้อแบบที่พบใน PCR แปลว่า อาจจะปลอดภัยถ้าจะออกมาภายนอก (หยุดกักตัว)
สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอคือ การตรวจทุกชนิด มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้เสมอ (บวกลวง-ลบลวง) การใช้งานชุดตรวจ จึงต้องทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ต่างประเทศ หลายแห่ง มีการแจก ATK (LFD) ให้ฟรี ก็เพื่อใช้งานอย่างสมเหตุสมผล ก่อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศ
และมีแนวทางการใช้งานที่ชัดเจน
คงเหลือบางประเทศ ที่ประชาชนจะอดมื้อกินมื้อ ยังต้องมาเจียดเงินซื้อ ATK ราคาแสนแพง
ส่วนของราคาถูกต้องซื้อปริมาณมาก และก็ไม่ง่าย หมดเร็ว