วัคซีนโควิด ควรฉีดชนิดไหน กี่เข็มถึงจะป้องกันโอมิครอนได้ดีที่สุด เช็คเลย

24 มิ.ย. 2565 | 03:32 น.
อัปเดตล่าสุด :24 มิ.ย. 2565 | 10:32 น.

วัคซีนโควิด ควรฉีดชนิดไหน กี่เข็มถึงจะป้องกันโอมิครอนได้ดีที่สุด เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอมนูญแนะนำวิธีฉีดวัคซีนโควิด

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

เป็นที่ทราบดี ถึงแม้จะฉีดวัคซีน 3 เข็มหรือ 4 เข็มก็ยังอาจติดเชื้อได้ 
แต่ความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะคนที่ได้รับเข็มกระตุ้น mRNA 

 

จะน้อยกว่าคนที่ไม่เคยรับ mRNA แม้แต่เข็มเดียว 

 

สำหรับคนที่ได้รับวัคซีน mRNA 3 เข็ม หรือวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มตามด้วย mRNA 1 เข็ม 

 

หลังติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน อาจจะไม่จำเป็นต้องไปรับเข็ม 4 

เพราะมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากจากภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีน 3 เข็มบวกกับภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อธรรมชาติ

 

แต่คนที่ไม่เคยได้วัคซีน mRNA เช่นได้รับซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซเนก้า 1 เข็ม 

 

หรือได้รับแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม แล้วติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 
ควรรับเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA อีก 1 เข็ม

 

วัคซีนโควิด ควรฉีดชนิดไหน กี่เข็มถึงจะป้องกันโอมิครอนได้ดี

 

ผลข้างเคียงของวัคซีน mRNA ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา มีเจ็บแขนบริเวณที่ฉีด แขนบวม อ่อนล้า ปวดตัว ปวดหัว มีไข้ 1-2 วัน  

 

สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบส่วนใหญ่เกิดในผู้ชายวัยรุ่นถึงอายุ 39 ปีหลังจากได้รับวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 

 

และส่วนใหญ่อาการไม่หนัก และหายเอง โอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีน mRNA น้อยมากๆ 

น้อยกว่าการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาก

 

การฉีดวัคซีน mRNA เป็นเข็มที่ 3 หรือ 4 พบอุบัติการณ์เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้น้อยกว่าการฉีด mRNA เข็มที่ 2