“บางกอกวิทยา" กิจกรรมประจำเดือนของ กทม. ที่จะจัดขึ้นตลอดเดือนสิงหาคม 2565 ภายใต้ไอเดีย “12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ” ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้คิดโจทย์ออกมาเป็น “บางกอกวิทยา” เหมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ เปิดพื้นที่เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เป็นเรื่องสนุกใกล้ตัวแก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน
บางกอกวิทยา เป็นการเปิดพื้นที่เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เป็นเรื่องสนุก ใกล้ตัว แก่ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน ทาง กทม. ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น อพวช., สวทช., สมาคมไทยสตาร์ทอัพ, Techsauce, เครือข่ายสิ่งแวดล้อม, NIA, True Digital Park ร่วมจัดกิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ให้ทุกท่านได้เข้าร่วม
สำหรับสัปดาห์แรก 1-7 สิงหาคมนี้ มีกิจกรรมดังนี้
วิชาวิทย์พื้นฐาน
“กิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็ก” จัดโดย กทม. ระหว่าง 1-31 สิงหาคม ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์เด็ก กทม. แห่งที่ 1 (จตุจักร) และพิพิธภัณฑ์เด็ก กทม. แห่งที่ 2 (ทุ่งครุ) / ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ และห้องสมุดเคลื่อนที่ 27 แห่ง/ ศูนย์เยาวชน/ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย 3 แห่งรวมกว่า 130 เวิร์กช็อป ที่ผู้ปกครองสามารถพาลูกหลาน ไปเข้าร่วมได้ สามารถเช็ครายละเอียดกิจกรรมได้ตามลิงก์นี้ คลิกที่นี่
วิชาวิทย์พื้นฐาน
“วิทย์ชวนว้าว !!! Curiosity WOW !” โดย อพวช. 1-31 ส.ค. ชั้น 5 เดอะ สตรีท รัชดา (10.00-19.00) รวบรวมห้องเรียนวิชาชีววิทยา วิชานวัตกรรม วิชาพฤกษศาสตร์ และห้องทดลอง ไว้ด้วยกัน ถึง 7 เวิร์กช็อป
วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี
งาน “Tech & The City Future of Space & Robotics on Earth by GLOBAL STARTUP HUB BKK” โดย NIA 4 ส.ค. (16.30-18.00) @ทรู ดิจิทัล พาร์ค Town Hall S ที่จะชวนสตาร์ทอัพมาพูดคุยอนาคตอวกาศและหุ่นยนต์ มีทั้งงานออฟไลน์และออนไลน์ ผู้สนใจลงทะเบียนก่อนร่วมงาน คลิกที่นี่
วิชานิเวศวิทยา
ผ่านทางออนไลน์ตลอดทั้งเดือน เครือข่ายสิ่งแวดล้อมชวนสำรวจธรรมชาติด้วย Big Data ผ่านแอปฯ ‘iNaturalist’ ถ่ายรูปให้ AI ช่วยระบุชนิดพันธุ์ เพื่อให้รู้จักความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองของเรามากยิ่งขึ้น แอปฯ นี้พัฒนาโดย National Geography และ California Academy of Sciences เพียงแค่แชร์รูปภาพ หรือเสียงร้องของสิ่งมีชีวิตเข้าไป AI จะแนะนำเบื้องต้นว่าสิ่งมีชีวิตนั้นคืออะไร และจะมีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน/นักวิทยาศาสตร์จากทั่วทุกมุมโลก มาช่วยจำแนกและยืนยันข้อมูลให้เราอีกด้วย ที่สำคัญข้อมูลของเรา จะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในระดับโลก (GBIF) ที่นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัยสามารถนำไปใช้ในงานวิจัยต่อได้ และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจของ Policy Makers ได้
เครือข่ายสิ่งแวดล้อม ยังเตรียมจัดกิจกรรมสำรวจระบบนิเวศ สวน กทม. ในช่วงเดือนนี้ เพื่อพาสำรวจห้องเรียนขนาดใหญ่ ที่มีชื่อว่า กรุงเทพมหานคร ไปพร้อมกัน สามารถดาวน์โหลดและศึกษาวิธีใช้งานได้ผ่านลิงก์ คลิกที่นี่
และเนื่องในเดือนวิทยาศาสตร์ ก็มีผู้จัดอื่นๆ จัดงานอีเวนต์ที่น่าสนใจ "สัปดาห์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ 2022" โดยเพจ The Principia ก็เป็นหนึ่งในนั้น งาน LIVE Talk รวมตัวนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ มาพูดคุยหลากหลายประเด็น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวของเราล้วนแล้วแต่เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น ติดตามได้ที่นี่ คลิกเลย