รพ.จุฬาลงกรณ์ ก้าวสู่การแพทย์ระดับโลก รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

09 ส.ค. 2567 | 09:29 น.
อัพเดตล่าสุด :09 ส.ค. 2567 | 10:02 น.

รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รับรางวัลเหรียญทอง Gold Award จาก The American Heart Association ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ก้าวสำคัญสู่โรงพยาบาลหัวใจมาตรฐานระดับโลก แห่งแรกของประเทศไทย

ผศ.พญ.ยุวรีย์ พิชิตโชค รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กรและทรัพยากรบุคคล กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้รับรางวัล Gold award จาก the American Heart Association (AHA) ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเจาะลึกในกลุ่มผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ 

รพ.จุฬาลงกรณ์ ก้าวสู่การแพทย์ระดับโลก รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

โดยปัจจุบันโรงพยาบาลมีนโยบายพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยทุกด้าน ไม่เพียงเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมุ่งเน้นการวางแผนการรักษาให้ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยในทุกขั้นตอน ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ด้วยการสร้างระบบเริ่มตั้งแต่การวางแผนการดำเนินการให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยาและเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยต้องมีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยรับการรักษาอย่างดีที่สุด

สำหรับรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ประเภทหัวใจล้มเหลวให้ได้ตามแนวทางเวชปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า guidelines  ในการดูแลผู้ป่วยตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ได้รับรางวัลเหรียญทอง สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องหมายยืนยันในมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วย เป็นความภาคภูมิใจของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรของศูนย์โรคหัวใจ รวมถึงทุกหน่วยงานที่ร่วมกันรักษามารตฐานในการดูแลผู้ป่วยและพร้อมพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอย่างยั่งยืน

รพ.จุฬาลงกรณ์ ก้าวสู่การแพทย์ระดับโลก รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ หัวหน้าอนุสาขาวิชาภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ (Heart failure and transplant cardiology) กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เข้าร่วมโครงการคุณภาพการของ the American Heart Association ในชื่อโครงการ the American Heart Association Get with the Guidelines of Heart Failure (โครงการคุณภาพการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว) ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การได้มาซึ่งรางวัลคุณภาพ Gold Award ต้องผ่านการตรวจรับรองเกณฑ์หรือตัวชี้วัดต่าง ๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 2 ปี (ห้ามตกเกณฑ์ในการดูแลผู้ป่วยตลอด 730 วัน) 

โดยปัจจุบัน มีงานวิจัยในระดับสากลรับรองว่า หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของโครงการ จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสมรรถนะการออกกำลังที่ดีขึ้น และมีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  ผู้ป่วยบางรายก่อนเข้ารับการรักษามีอาการเหนื่อยมาก มีภาวะน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำบ่อยครั้ง หลังได้รับการรักษาตามเกณฑ์ดังกล่าวพบว่าผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น และไม่เคยกลับเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกเลย 

โดยปัจจุบัน มีงานวิจัยในระดับสากลรับรองว่า หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของโครงการ จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสมรรถนะการออกกำลังที่ดีขึ้น และมีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  ผู้ป่วยบางรายก่อนเข้ารับการรักษามีอาการเหนื่อยมาก มีภาวะน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำบ่อยครั้ง หลังได้รับการรักษาตามเกณฑ์ดังกล่าวพบว่าผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น และไม่เคยกลับเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกเลย 

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักถูกส่งตัวมาจากแพทย์โรคหัวใจจากต่างโรงพยาบาลอื่นเพื่อปลูกถ่าย (เปลี่ยน) หัวใจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่หลังจากการได้รับการดูแลตามมาตรฐานดังกล่าว ผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นและไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจอีก

รพ.จุฬาลงกรณ์ ก้าวสู่การแพทย์ระดับโลก รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

สำหรับ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักถูกส่งตัวมาจากแพทย์โรคหัวใจจากต่างโรงพยาบาลอื่นเพื่อปลูกถ่าย (เปลี่ยน) หัวใจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่หลังจากการได้รับการดูแลตามมาตรฐานดังกล่าว ผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นและไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจอีก ซึ่งความสำเร็จของการได้รับรางวัล Gold Award ของ the American Heart Association Get with the Guidelines of Heart Failure ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีผู้สนับสนุนและดำเนินการหลังบ้าน รวมถึงบริษัทโนวาร์ติส (ประเทศไทย) จำกัด

รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ หัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันที่อย่างที่บางท่านอาจเข้าใจผิด แต่ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นเป็นภาวะที่หัวใจ “เปรียบเสมือนเครื่องปั๊ม (pump) น้ำ” หรือในที่นี้ คือ ปั๊มเลือด ทำงานได้ลดลง ปั๊มเลือดได้น้อยลง ดังนั้นเลือดจึงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้น้อยลง 

ขณะเดียวกันเมื่อปั๊มเสียการทำงาน จะมีน้ำคั่งบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น น้ำคั่งในปอด (ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ นอนแล้วหายใจอึดอัดต้องลุกขึ้นมานั่ง) หรือน้ำคั่งบริเวณขา (ผู้ป่วยอาจมีขาบวม) น้ำคั่งในช่องท้อง (ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องอืด) เป็นต้น  ภาวะหัวใจล้มเหลวจึงเกิดได้กับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจทุกประเภท หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจทุกประเภทมีโอกาส (มีสิทธิ์) ที่จะมีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ โรคหัวใจที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวได้บ่อย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือจากภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น

โดยภาวะหัวใจล้มเหลว จัดเป็นโรคหรือภาวะที่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ในปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่าประมาณ 64 ล้านคนทั่วโลกประสบภาวะหัวใจล้มเหลว อุบัติการณ์ของภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทยยังไม่มีตัวเลขแน่ชัด แต่คาดว่ามีผู้ป่วยไทยประมาณ 4 ล้านคนประสบภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลวถือว่าน่ากลัวกว่าโรคมะเร็งบางชนิด เพราะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง ภาวะหัวใจล้มเหลวมีอัตราการเสียชีวิตที่ 1 ปี ประมาณร้อยละ 20-30 และอัตราการเสียชีวิตที่ 5 ปี เกินร้อยละ 50 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะตายที่ 5 ปี

การรักษามาตรฐานของภาวะหัวใจล้มเหลว คือ การรักษาสาเหตุของโรคหัวใจที่ทำให้หัวใจปั๊มเลือดได้ผิดปกติ การให้ยาตามมาตรฐานตามเวชปฏิบัติ (guideline-directed medical therapy) การฝังเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ในหัวใจ และในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจจำเป็นต้องได้รับการใส่เครื่องพยุงหัวใจ หรือการปลูกถ่ายหัวใจ

ผศ.(พิเศษ)นพ.สมชาย ปรีชาวัฒน์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในทุกมิติ ทั้งการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการฝังเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์หัวใจ การจี้ไฟฟ้าหัวใจ การสวนหัวใจ การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด การเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยสายสวน การผ่าตัดหัวใจทุกชนิดทั้งชนิดทั่วไปและชนิดซับซ้อน การฝังเครื่องปั๊มหัวใจเทียม การปลูกถ่ายหัวใจ 

โดยมีอาจารย์แพทย์ที่มีความชำนาญมากประสบการณ์ในการรักษา และมีฝีมือที่ดีมากมาย ศูนย์โรคหัวใจมีเครื่องมือเทคโนโลยีทางด้านการวินิจฉัยและการรักษาหัวใจที่ทันสมัยระดับสากล ฉะนั้นจึงมีความมุ่งหวังในการพัฒนาศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้น และมีนวัตกรรมปรับใช้กับผู้ป่วยคนไทย และก้าวพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นที่พึ่งของการรักษาโรคหัวใจแก่ประชาชนชาวไทยทุกคน

รพ.จุฬาลงกรณ์ ก้าวสู่การแพทย์ระดับโลก รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

ด้าน รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้รับรางวัล Gold Award จาก The American Heart Association (AHA) จากสมาพันธ์แพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำปี พ.ศ.2567 ในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวหรือผู้ป่วยในภาษาอังกฤษเรียกว่า heart failure เป็นความภาคภูมิใจของทางโรงพยาบาลที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ นับว่าเป็นการปักหมุดของประเทศที่สำคัญ 

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด มีเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ให้บริการวินิจฉัยดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจแบบครบวงจร จากทีมอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ให้บริการวินิจฉัยดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนเป็นพิเศษ มุ่งให้บริการแก่ประชาชนทุกระดับ และเป็นที่พึ่งทางสุขภาพของประชาชนคนไทย