วันที่ 30 สิงหาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น ,พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ,พื้นที่เฝ้าระวังระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น และ พื้นที่เฝ้าระวังทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ประชาชนสามารถตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงได้ดังต่อไปนี้
ภาคกลาง
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคใต้
นอกจากนี้ ปภ.ยังเตือนทุกจังหวัดดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่มอย่างเคร่งครัด โดยนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์อุทกภัยในช่วงนี้พบว่าหลายพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัยและดินถล่ม ดังนั้นจึงขอเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่มอย่างเคร่งครัด โดยให้คณะทำงานติดตามสถานการณ์ของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดติดตามและเฝ้าระวังสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำอย่างใกล้ชิด หากวิเคราะห์สถานการณ์แล้วมีแนวโน้มเกิดสถานการณ์ภัยขึ้นให้แจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบทันที
พร้อมกันนี้ ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่บริหารจัดการน้ำให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด หากจำเป็นต้องระบายน้ำให้แจ้งเตือนประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนมีเวลาเพียงพอในการยกของขึ้นที่สูงหรืออพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเตรียมพร้อมเผชิญเหตุและให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที
สำหรับจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขอให้ติดตามปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาและการบริหารจัดการน้ำของสำนักงานชลประทานอย่างใกล้ชิด พร้อมแจ้งข้อมูลให้ประชาชนและภาคเอกชนที่ประกอบกิจการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงผู้ประกอบการเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำเจ้าพระยาทราบอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ขอให้จังหวัดเร่งตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงเชิงโครงสร้างของสถานที่ใช้เก็บกักและกั้นน้ำอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ ขอให้ดำเนินการซ่อมแซมให้กลับมามั่นคงแข็งแรงโดยด่วน
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
กรุงเทพและปริมณฑล