วันที่ 30 เม.ย.2564 นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ระบุว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19 ในขณะนี้ มีผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ประเด็นแรกที่อยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เร่งดำเนินการก็คือ เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ก็จะทำให้เป็นปัจจัยช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากหากผู้ใช้แรงงานได้รับวัคซีนเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้ โดยอาจจะจัดสรรให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานกลุ่มที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นอันดับต้น ในส่วนของการเยียวยาที่ผ่านมารัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการที่ตรงเป้าหมาย อาทิ โครงการเราชนะ ม.33 เรารักกัน แต่หากการแพร่ระบาดยังคงไม่มีทีท่าลดลง รัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาในการเยียวยาเพิ่มเติมหรือต่ออายุโครงการที่มีอยู่เพื่อให้การช่วยเหลือ ขณะเดียวกันอยากให้รัฐบาลทบทวนในเรื่องของกรณีผู้ที่มีเงินฝากเกิน 5 แสนบาทซึ่งอาจจะไม่ได้รับการเยียวยาซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องไปพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย
นายชาลี ยังระบุถึงมาตรการเรื่องของการให้เงินทุนหรือปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย มองว่า การเข้าถึงนั้นค่อนข้างยาก จากการติดตามพบว่า ยังมีงบประมาณกว่า 4 แสนล้านบาทในการนำไปช่วยในเรื่องของการเยียวยาและการสร้างอาชีพให้กับผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบนั้น ยังไม่ได้ดำเนินการและยังไม่ลงไปถึงพี่น้องผู้ประกอบการ ซึ่งยังติดอยู่ที่ขั้นตอนในการพิจารณาเงื่อนไขรายละเอียด โดยมองว่าดำเนินการที่ล่าช้าไป จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการขับเคลื่อนโครงการความช่วยเหลือดังกล่าวให้ถึงมือผู้ประกอบการหรือผู้ใช้แรงงาน
ในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นวันแรงงาน ที่ผ่านมาองค์กรและภาคีเครือข่ายผู้ใช้แรงงาน จะมีการจัดกิจกรรมและยื่นข้อเสนอไปยังรัฐบาล แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปีนี้ทำให้ต้องงดการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและปฏิบัติตามมาตรการของสาธารณสุข แต่ยังคงมีข้อเรียกร้องเดิมทั้ง 12 ข้อเพื่อปฎิรูปและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน แต่ในปีนี้ทางเครือข่ายแรงงานได้เสนอข้อเรียกร้องเร่งด่วนคือให้รัฐบาลจัดหาวัคซีนให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ครบภายในสิ้นปีนี้
ทางเครือข่ายผู้ใช้แรงงานจะมีการติดตามข้อเสนอต่างๆที่ได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลขณะเดียวกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19 ทางเครือข่ายแรงงานได้มีการเปิดศูนย์ประสานงานในการให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลกับพี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยเป็นความร่วมมือของคณะกรรมาการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ในการเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยังระบุถึงความคืบหน้าในการปฎิรูปและยกระดับแรงงาน รวมทั้งการตั้งธนาคารแรงงานว่า เรื่องการปฏิรูป ทั้งระบบประกันสังคม การตั้งธนาคารแรงงาน มีความคืบหน้าไปมาก ต้องขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ได้ความสำคัญ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีที่สั่งการให้ศึกษาข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของธนาคารแรงงาน คาดว่า ไม่น่าเกินเดือนพฤษภาคมน่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนและเกิดการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ไม่เฉพาะเรื่องของธนาคารแรงงานแต่ยังมีเรื่องของการปฏิรูประบบประกันสังคม การตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ใช้แรงงานรวมทั้งการขับเคลื่อนแรงงานเพื่อรองรับเศรษฐกิจในอนาคตที่อาจเปลี่ยนแปล