ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปี2566 ยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรคและความท้าทาย โดยเฉพาะ สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่สำคัญกำลังซื้อที่เปราะบาง และถูกปฏิเสธสินเชื่อ เป็นตัวการที่ทำให้ เกิดสต็อกสะสมมากขึ้น มุมสะท้อน ของ นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ หรือ REIC ระบุว่า ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศไทยทรุดลงค่อนข้างแรง
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะยอดขายอาคารชุด มียอดขายตกตํ่ามาก และส่วนต่างของจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่มากกว่าหน่วยที่ขายได้ใหม่ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้เพิ่มขึ้น 389 หน่วย ส่งผลให้หน่วยที่เหลือขายภาพรวมแนวราบและอาคารชุดในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 182,935 หน่วย มูลค่า 883,484 ล้านบาท ขยายตัว 7.8% และ 9.4% ตามลำดับ
จากการสำรวจ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ตลาดบ้านแนวราบในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลในไตรมาส 1 เปิดขาย 124,723 หน่วย ขยายตัว 6.9% มูลค่า 679,672 ล้านบาท ขยายตัว 13% และเป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ที่เสนอขายมากสุด ส่วนการเปิดตัวใหม่อยู่ที่ 8,699 หน่วย หรือ 6.97% มูลค่า 51,473 ล้านบาท หรือ 7.57% มีจำนวนหน่วยลดลง 16.8% และมูลค่าลดลง 12.8% โดยทาวน์เฮาส์ลดลงมากสุด ทำให้หน่วยที่เหลือขายของแนวราบในตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 113,142 หน่วย มูลค่า 610,073 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% และ 14.7% ตามลำดับ
ส่งผลให้ในภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวสูงที่มีหน่วยเหลือขายในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล ในไตรมาส 1 ปี 2566 มีการเสนอขายรวมอยู่ที่ 204,226 หน่วย ขยายตัว 2.3% มูลค่า 989,251 ล้านบาท ขยายตัว 4.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นหน่วยเปิดตัวใหม่ 21,680 หน่วย หรือ 10.62% มูลค่า 82,246 ล้านบาท หรือ 8.31%
มีจำนวนลดลง 26% และมูลค่าลดลง 22.5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และดูยอดขายใหม่ที่เกิดในไตรมาสอยู่ที่ 21,291 หน่วย มูลค่า 105,768 ล้านบาท พบว่าพบว่าหน่วยลดลง 29.1% และมูลค่าลดลง 22% มีอัตราการดูดซับปรับตัวลดลงจาก 3.5% ต่อเดือน หรือระยะเวลาขายหมด 26 เดือน หรือกว่า2ปี
นี่คือสัญญาณที่น่าตกใจ และเป็นการบ้าน ที่รัฐบาลใหม่ ต้องรับมือ !!!