ตลาดที่อยู่อาศัยยังเผชิญความท้าทายรอบด้าน การปฏิเสธสินเชื่อมีสูง จากความเข้มงวดของสถาบันการเงิน รวมถึงการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนค่าครองชีพสูงขึ้น สวนทางกำลังซื้อหดหาย กับดักหนี้ครัวเรือนขณะตัวช่วยอย่างมาตรการLTVถูกยกเลิก เมื่อตรวจสอบภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งบ้านจัดสรรและอาคารชุด ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลพบว่า มีหน่วยเหลือขาย 206,246 หน่วย มูลค่า 1,019,318 ล้านบาท หรือมีปริมาณเพิ่มขึ้น 3.3% และ 5.3% ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในจำนวนนี้เป็นหน่วยเกิดจากโครงการเปิดตัวใหม่เพียง 23,080 หน่วย หรือเพียง11.19% ของหน่วยที่เสนอขายทั้งหมด มูลค่า 127,774 ล้านบาท หรือเพียง 12.54% ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด ซึ่งหน่วยที่เปิดตัวใหม่มีจำนวนและมูลค่าที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -19.0% และ -6.6% ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 11,224 หน่วย มูลค่า 80,299 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง-7.8% โครงการอาคารชุดจำนวน 11,856 หน่วย จำนวนหน่วยลดลง -27.3% มูลค่าโครงการ 47,475 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้น5.9%
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ภาวะภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุด ที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำในด้านยอดขายพบว่าในช่วงไตรมาส 2 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวนทั้งสิ้น 15,959 หน่วย มูลค่าโครงการรวม 83,499 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง -32.3% มูลค่าลดลง -28.4%
ในจำนวนดังกล่าวเป็นการขายได้ใหม่ของโครงการอาคารชุดจำนวน 5,909 หน่วย มูลค่าโครงการรวม มูลค่า 24,900 ล้านบาท โดยจำนวนหน่วยลดลง -56.5 % มูลค่าลดลง -53.1 และเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 10,050 หน่วย มูลค่า 59,490 ล้านบาท โดยจำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 มูลค่าลดลงร้อยละ -8.9
ด้านที่อยู่อาศัยเหลือขายพบว่าไตรมาส 2 ปี 2566 มีจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายทั้งสิ้น 190,287 หน่วยเพิ่มขึ้น8.0% มูลค่า 935,819 ล้านบาท เพิ่มขึ้น9.9 %แบ่งเป็น อาคารชุด 74,230 หน่วย เพิ่มขึ้น 11.2% มูลค่า 290,637 ล้านบาท ลดลง -1.3% และบ้านจัดสรรจำนวน 116,057 หน่วย เพิ่มขึ้น 6.1 %มูลค่า 645,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.8%