การวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ในท้องที่เขตกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมทั้ง 50 เขต และปิดประกาศร่างผังเมืองรวม ประกอบด้วย แผนที่ แผนผังข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน รายการประกอบแผนผังและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ webportal.bangkok.go.th/cpud และ plan4bangkok.com ตั้งแต่วันที่8-22ธันวาคม รวม15 วัน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบ
จากนั้น จะเปิด ประชุมรับฟังความคิดเห็น ตามโซนกลุ่มเขต 2วัน ได้แก่ วันที่ 23 ธันวาคม 2566 จัดรับฟังความคิดเห็น 3 พื้นที่ ได้แก่ ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง สำนักงานเขตมีนบุรี, ศาลาว่าการกรุงเทพ มหานคร2 เขตติดแดง และสำนักงานเขตบางบอน วันที่ 24 ธันวาคม 2566 จัดรับฟังความคิดเห็น 3 พื้นที่ ณ ห้องประชุมเบญจจินดาโรงเรียนหลักสี่เขตหลักสี่ ,สำนักงานเขตบางพลัด และสำนักงานเขตคลองเตย
โดยวันที่ 6 มกราคม 2567 เวลา 9.00น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นหรือประชาพิจารณ์ใหญ่ รวมทั้ง 50 เขต เพื่อ นำข้อคิดเห็นที่ได้รวบรวม นำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดผังเมืองรวมและประกาศใช้ปี2568 ต่อไป
ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า ขอให้ประชาชน ในท้องที่ เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและปรึกษาหารือด้วยวาจาในวันที่มีประชุมรับฟังความคิด ตามวันเวลา สถานที่ตามที่กำหนดไว้ หรือแสดงความคิดเห็นเป็นหนังสือหรือผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว เพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นคำร้อง ขอ แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในขั้นตอนการปิดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า90วัน ตามมาตรา30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติ การผังเมืองพ.ศ. 2562
แม้การบังคับใช้ ผังเมืองรวม จะมีความล่าช้า หากมองในภาพรวมพบว่า ได้เปิดใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้น อาทิ โซนตะวันตก และโซนตะวันออกของกรุงเทพมหานคร การเปลี่ยน แปลงโครงสร้างพื้นฐานรัฐทั้ง รถไฟฟ้าสายใหม่ โครงข่ายถนน การขยายตัวของเมือง มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลดีต่อบริษัทพัฒนาที่ดินและประชาชนเจ้าของที่ดินบางกลุ่มที่ต้องการ การเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินให้สูงขึ้น
สร้างความถี่การพัฒนาและราคาที่ดินปรับสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เห็นต่างเพราะไม่ต้องการให้ที่ดินและพื้นที่ใกล้เคียงเกิดการพัฒนาในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เพราะอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นประชาชนที่เกี่ยวข้องไม่ควรนิ่งเฉย ในทางกลับกันต้องออกมาใช้สิทธิ ตามที่กฎหมายได้มอบอำนาจไว้
ประเด็นที่เพิ่มเติมในผังเมืองรวม นายชัชาติ มีนโยบายให้ ภาครัฐและเอกชน พัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อให้ กลุ่มดังกล่าวสามารถซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตในเมืองใกล้แหล่งงานโดยจะเพิ่มโบนัสพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ได้เพิ่มการสร้างเมืองใหม่บริเวณชานเมืองเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าเชื่อมถึงหรือการคมนาคมสะดวก เกิดการสร้างงานและการอยู่อาศัยในพื้นที่โดยไม่ต้องเดินทางเข้า-ออกใจกลางเมืองเพื่อลดฝุ่นพิษ PM2.5
"ฐานเศรษฐกิจ"ตรวจสอบ ข้อกำหนดผังเมืองรวมกทม. (ปรับปรุงครั้งที่4) พบว่าแต่ละสีผังมีการยืดหยุ่นการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น เริ่มจากประเภทบ้านเดี่ยวสร้างได้ทุกพื้นที่ ทุกสีผังเมือง ประเภทบ้านแฝดเปิดให้พัฒนาบนพื้นที่ ย.2 (พื้นที่สีเหลืองที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยตั้งแต่ ย.1-ย.5 ) เป็นต้นไป ประเภทบ้านแถว (ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์) สร้างได้บนพื้นที่ ย.2 เงื่อนไขตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตรหรืออยู่ระยะ 800 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหรือสถานีร่วมเช่นเดียวกับ
ประเภทห้องแถวตึกแถว อนุโลมสร้างบนพื้นที่ ย.2 เงื่อนไข ตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่ากว่า 16 เมตรหรืออยู่ในระยะ 650 เมตรจากสถานี รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหรือสถานีร่วมและสร้างได้บนพื้นที่ ย.3 หากแปลงที่ตั้งอยู่ติดกับถนน ที่มีความกว้างของเขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร
ประเภทที่อยู่อาศัยรวม พื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร สร้างบนพื้นที่ ย.2. ได้แต่มีเงื่อนไขที่ดินต้องตั้งติดริมถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร และย.3 ที่ดินติดริมถนนมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า16เมตร ประเภทที่อยู่อาศัยรวม ขนาดพื้นที่ไม่เกิน2,000 ตารางเมตรสร้างบนพื้นที่ ย.3. ย.4 เงื่อนไขต้องตั้งติดริมถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร ห้ามสร้างบนพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) พ.1 พ.2
อาคารประเภทที่อยู่อาศัยรวมพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร สร้างได้บนพื้นที่ ย.4 และย.5. แต่มีเงื่อนไขต้องตั้งติดริมถนนกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร ห้ามสร้างบนพื้นที่พ.1 พ.2 (พื้นที่สีแดง พาณิชยกรรม) ประเภทที่อยู่อาศัยรวมพื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร ห้ามสร้างบนพื้นที่ ย.1.ถึงย.3 อนุโลมสร้างได้ ย.4ย.5 แต่ต้องตั้งอยู่ริมถนน ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร ห้ามสร้างบนพื้นที่สีแดง พ.1 ถึงพ.3 อนุโลม สร้างได้ พ.4ถึงพ.6.
เงื่อนไขต้องตั้งติดริมถนนเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 16เมตร อาคารประเภทที่อยู่อาศัยรวมพื้นที่เกิน 10,000 ตารางเมตร ห้ามสร้างบนพื้นที่ สีเหลือง ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ตั้งแต่ย.1.ถึงย.5 อนุญาตสร้างได้ ตั้งแต่พื้นที่สีส้ม(ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง)เป็นต้นไป แต่พื้นที่สีส้ม ตั้งแต่ ย. 6 ถึง ย.10 มีเงื่อนไขต้องตั้งติดริมถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตรห้ามสร้างบนพื้นที่สีแดง พ.1 ถึงพ.3 อนุโลม สร้างได้ พ.4 ถึงพ.6.เงื่อนไข ที่ดินตั้งติดริมถนนเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 30 เมตร
ประเภทพาณิชย กรรมประเภทห้องแถวตึกแถวไม่เกิน 100 ตารางเมตร สร้างได้ทุกพื้นที่ ประเภทพาณิชยกรรมประเภทห้องแถว ตึกแถว ขนาดไม่เกิน 300 ตารางเมตร สร้างบนพื้นที่ ย.1ย.2 มีเงื่อนไขต้องตั้งติดริมถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า16เมตร ประเภทพาณิชยกรรมประเภทห้องแถวตึกแถว ขนาด ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ห้ามสร้างบนพื้นที่ ย.1 อนุโลมสร้างพื้นที่ ย.2.ย.3 เงื่อนไข ต้องตั้ง ติดถนนที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า30เมตร และย.4 ที่ดินตั้งติดถนนเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 16เมตร เป็นต้น
ประเมินว่าการก่อสร้างอาคารที่มีเขตทางที่ว่างหรือใกล้รัศมีรถไฟฟ้า สถานีร่วมรถไฟฟ้า ส่งผลดีช่วยเพิ่มความถี่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้หากสละพื้นที่ เพื่อให้บุคคลภายนอกใช้ร่วมกัน เช่น สวนสาธารณะ ทางสาธารณะ ทางจักรยาน จะได้รับโบนัส 20% เพื่อก่อสร้างพื้นที่ขายได้เพิ่มขึ้น