กูรู มองข้อดี-ข้อเสียรัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ400บาท รับปีใหม่ 1ม.ค68  

01 ม.ค. 2568 | 03:56 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ม.ค. 2568 | 04:15 น.

กูรู อสังหาฯ มองรัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ400บาท ปี2568 เพิ่มขึ้นวันละ 7–55 บาท เฉลี่ยร้อยละ 2.9 รับปีใหม่  1ม.ค68 4 จังหวัด 1อำเภอ ข้อดี-ข้อเสีย กทม.-ปริมณฑลไม่กระทบ

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 กระทรวงแรงงาน ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ครั้งที่ 11/2567 ที่มีนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานบอร์ดค่าจ้าง เป็นประธานพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำปี2568 เพิ่มขึ้นวันละ 7–55 บาท หรือเฉลี่ยร้อยละ 2.9 โดยแบ่งออกเป็น 17 ระดับ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ดังนี้

ขึ้นค่าแรง400บาท4จังหวัด1อำเภอ มีผล1ม.ค.68

1.ปรับค่าแรงขั้นต่ำปี 2568 ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท สำหรับ 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง และ 1 อำเภอ คือ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 2.ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 380 บาท สำหรับ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 3.ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 372 บาท สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด และ4.ค่าแรงขั้นต่ำใน ปี2567 จังหวัดที่เหลือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 นั้นทั้งนี้ ผลกระทบต่อแรงงานหลังปรับค่าแรงขั้นต่ำ

 

 

นายบุญสงค์  สะท้อนว่า  การปรับค่าแรงครั้งนี้จะช่วยแรงงาน 3,760,697 คน ให้มีค่าครองชีพที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยคณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้พิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ความจำเป็นด้านค่าครองชีพของลูกจ้าง2.ความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและ3.สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
 

อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายประเมินว่าจะส่งผลกระทบเฉพาะจังหวัดที่ได้รับการพิจารณาปรับค่าแรงขึ้น และเกิดการเดินทางไปยังจังหวัดที่ปรับค่าแรง400บาท ของขวัญปีใหม่2568 เพียงไม่กี่จังหวัด ส่วนในมุมของผู้ประกอบการยอมรับว่ามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแต่เมื่อพิจารณาแล้วค่าครองชีพปรับสูงขึ้นไปก่อนหน้า 

ส่วนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลไม่ได้รับผลกระทบ เพราะต้นทุนเท่าเดิมหรืออาจปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ในมุมคนงานลูกจ้างในจังหวัดที่ไม่ได้รับการพิจารราปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ400บาท รู้สึกผิดหวัง

อสังหาฯไม่กระทบปรับค่าแรง400บาท

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ “ มองว่าไม่มีผลกระทบเนื่องจากตลาดใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขณะเดียวกัน ค่าแรงมีฝีมือส่วนใหญ่จะปรับสูงอยู่ก่อนแล้ว

 นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ  ปรับค่าแรง4จังหวัด1อำเภอ มีผลกระทบ แต่อาจไม่มากแต่ทั้งนี้ หากมองในแง่ราคาสินค้า อาหารใน 4 จังหวัดนั้นจะแพงขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ต้องยอมรับว่ามีราคาแพงอยู่ก่อนแล้วเพราะเป็นจังหวัดท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม

"อาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังธุรกิจบริการอื่นๆ แต่ตามข้อเท็จจริงอาจจะไม่มาก เพราะปกติทั้ง 4 จังหวัดนั้นค่าแรงแพงพอสมควรอยู่แล้วและราคาสินค้าก็แพงอยู่แล้ว"

อสังหาฯ-ก่อสร้างค้านขึ้นค่าแรง400บาททั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ภาคอสังหาฯและอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความกังวลจากนโยบายรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ400บาท ทั่วประเทศ  นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์  นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอาคารชุดไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่ เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY ระบุว่าไม่เห็นด้วยกรณีปรับค่าแรง400บาททั่วประเทศ แต่ เห็นด้วยหากปรับค่าแรงขั้นต่ำเฉพาะรายจังหวัดที่มีความเหมาะสม มากกว่าการปรับขึ้นทั่วทั้งประเทศ แต่ทั้งนี้ ควรยกเว้นกลุ่มบริษัทเอสเอ็มอี เพื่อลดผลกระทบ แต่ทั้งนี้หากแรงงานได้ปรับขึ้นค่าแรงมองว่าเป้นเรื่องดีเพราะเพิ่มค่าครองชีพที่สูง

นายพรนริศ ชวยไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สะท้อนว่า การเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทของรัฐบาล มองว่าจะซ้ำเติมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2568 เพราะเป็นต้นทุน แต่จะไปปรับราคาบ้านขึ้นย่อมลำบากเนื่องจากกำลังซื้อไม่มี อย่างไรก็ดี สถานการณ์ตลาดปี 2568 คาดว่ากำลังซื้อจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการรัฐต่างๆออกมามากแค่ไหนก็ตาม แต่ควรพิจารณาเป็นรายจังหวัดที่สมเหตุสมผลย่อมดีกว่า

นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400บาทมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นการซ้ำเติมกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะ ค่าแรงปรับขึ้นและลุกลามถึงราคาสินค้าค่าครองชีพ

ที่สำคัญงานในมือผู้รับเหมามีน้อย มีการแข่งขันสูง และหากค่าแรงสูง ย่อมกระทบแน่นอนอย่างไรก็ตามหาก รัฐบาลต้องการปรับค่าแรงขึ้น400บาทจริง เอกชนจะขอ ให้รัฐปรับขึ้น มูลค่าโครงการ อีก3-4% หาก ทำได้ เอกชนก็รับได้

อย่างไรก็ตามยอมรับว่าปีหน้า ผู้รับเหมา ได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะ มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว  และยังมีผลกระทบต่อสงครามการค้า สงคราม รัสเซีย-ยูเครน รวมถึงตะวันออกกลาง มีผลทำให้ ต้นทุนวันสดุก่อสร้าง  ค่าขนส่ง ขยับขึ้นแน่นอน แต่แนวทางที่เหมาะสมคือปรับขึ้นในจังหวัดที่เหมาะปรับขึ้นจะเหมาะสมกว่า

เช่นเดียวกับ นางสาวลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ให้สัมภาณ์ฐานเศรษฐกิจ ก่อนหน้านี้ ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะขึ้นค่าแรงพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างฯ ที่ขาดแคลนแรงงาน แต่หากปรับขึ้นตามเหตุและผลจะเหมาะสมกว่า   

“เรามองว่าการขึ้นค่าแรงควรปล่อยไปตามธรรมชาติ หากขึ้นค่าแรงงานพร้อมกันจะเกิดการย้ายถิ่นฐานกลับไปอยู่ที่ในพื้นที่ที่ไม่มีแรงงาน” นางสาวลิซ่า กล่าว