รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์ เอส อิสวารัน กล่าวว่า”สิงคโปร์เตรียมให้บริการเทคโนโลยี 5 จี ในปีหน้า วางรากฐานให้เป็นกระดูกสันหลังของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ”
หน่วยงานที่กำกับดูแลระบบการโทรคมนาคมในสิงคโปร์ หรือ ไอเอ็มดีเอ Infocomm Media Development Authority (IMDA)ประกาศเมื่อวานนี้ (พฤหัสบดี) สิงคโปร์จะมีโครงข่าย 5 จีอย่างน้อย 50% ภายในปี 2022
โครงข่ายเหล่าหรือ standalone network คือโครงสร้างพื้นเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี 5จี ซึ่งมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอพลิเคชั่นที่ต้องใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต รถยนตร์อัตโนมัติ รวมไปถึง IoT หรือ อินเตอร์เนตออฟติงส์ ทั้งหมดนี้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า คลื่น5จีทั่วๆไป (non-standalone 5G) ที่พัฒนามาจากระบบ 4 จี
ในขั้นต้นสิงคโปร์จะมีผู้ให้บริการ 5 จี 2 ราย โดยหน่วยงานกำกับดูแลได้เรียกผู้ให้บริการ 4 ราย มารับฟังและยื่นข้อเสนอในการให้บริการ เบื้องต้นหน่วยงานรัฐจะทำการคัดเลือกผู้ให้บริการ 2 ราย เพื่อทำการติดตั้งโครงข่าย 5 จี (standalone 5G networks) ด้วยพื้นที่ที่ครอบคลุมมากที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งจะใช้คลื่นความถี่ที่อยู่ในมือของหน่วยงานกำกับ(IMDA) โดยบริษัทเหล่านี้ต้องจ่ายเงินให้กับรัฐบาลสิงคโปร์อย่างน้อย 55 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือ 40.18 ล้านเหรียญฯ (1.2พันล้านบาท) ต่อช่วงคลื่นความถี่ที่ต้องการ
ส่วนผู้ให้บริการสองรายที่เหลือจะให้บริการเทคโนโลยี 5 จี ตามคลื่นความถี่ 5 จี ตามโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบใบอนุญาตได้ในช่วงกลาง 2020 มีระยะเวลาดำเนินการ 16 ปี
สำหรับผู้ให้บริการที่ต้องลงทุนโครงข่าย 5 จี ในลักษณะ standalone ที่ไม่ได้ใช้โครงข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ทั้งหมด คือต้นทุนของผู้ให้บริการ ก่อนหน้านี้หนึ่งในผู้ให้บริการ “สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่น” ได้ขอให้ไอเอ็มดีเอ ให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
รัฐมนตรีสารสนเทศและการสื่อสารของสิงค์โปร์ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของประเทศจาก 3 จี เป็น 4 จี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แนวโน้มของต้นทุนจะสูงขึ้นอย่างแน่นอนในการเริ่มต้น แต่ถ้าระบบขยายเมื่อไหร่ แอพลิเคชั่นกว้างมากขึ้น ตลาดจะหาสมดุลของตัวเองได้
ขณะนี้เทคโนโลยี 5 จี ได้ให้บริการในหลายประเทศ เช่น สหรัฐ เกาหลีใต้ และจีน ส่วนสิงคโปร์คาดว่าการนำร่องเทคโนโลยีนี้จะใช้งบลงทุนประมาณเบื้องต้น 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือประมาณ 960 ล้านบาท