สำนักข่าวซินหัว สื่อใหญ่ของทางการจีน รายงานว่า แอนติบอดีป้องกันไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 (SARS-CoV-2) ที่ผ่านมา ถูกจำกัดประสิทธิภาพด้วย เชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์ ที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง และการกระจายตัวของแอนติบอดีสู่บริเวณที่ติดเชื้อในทางเดินหายใจซึ่งถูกจำกัดวง
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารเซลล์ (Cell) เมื่อวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) ระบุว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟู่ตัน พบตัวรับ-ตัวยึดเกาะของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งหมายความว่าส่วนเหล่านั้นต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันนำไปสู่การหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน
ทางคณะนักวิจัยได้สร้างแอนติบอดีโดเมนเดียว (single-domain) ที่มีความจำเพาะแบบคู่ ซึ่งสามารถผูกมัดทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในเวลาเดียวกันและเสริมฤทธิ์กัน
ตามรายงานระบุว่า แอนติบอดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นหยดของเหลวขนาดไม่ถึง 5 ไมโครเมตร สามารถลำเลียงสู่ปอดอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการสูดดม มีประสิทธิภาพการรักษาในหนูทดลองที่ติดเชื้อไวรัสโควิด โดยหนูทดลองที่ป่วยโรคโควิด-19 อาการรุนแรง และมีระดับเชื้อไวรัสในปอดสูง เมื่อสูดดมแอนติบอดีบีเอ็น03 (bn03) เข้าสู่ร่างกายแล้ว พบว่าเชื้อไวรัสโควิดที่มีชีวิตในปอด “เกือบทั้งหมด” ได้ถูกกำจัด และยังรักษาอาการบาดเจ็บของปอดได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ เทคนิคการผลิตแอนติบอดีข้างต้นยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และคาดว่าจะมีการทดลองทางคลินิกในขั้นตอนถัดไป