Aphasia (อะเฟเซีย) หรือ ภาวะเสียการสื่อความ หมายถึง ความผิดปกติทางภาษาที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทโดยมีพยาธิสภาพในสมอง ภาวะเสียการสื่อความจะมีความผิดปกติของความเข้าใจและการใช้ภาษา มักมีความผิดปกติในความสามารถทางภาษาทุกด้าน คือ ความผิดปกติในการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน โดยอาจมีความรุนแรงในแต่ละทักษะไม่เท่ากัน
ผู้ป่วยอาจมีความลำบากในการฟังเข้าใจ คำพูด วลีและประโยค มีความลำบากในการนึกหาคำศัพท์หรือคำพูดที่ถูกต้อง เช่น ชื่อคน สถานที่สิ่งของ ทำให้พูดผิดหรือใช้คำอื่นมาแทน โดยอาจเป็นคำหรือเสียงใหม่ในภาษา
มีความลำบากในการจำคำพูด ทำให้ไม่สามารถเข้าใจคำพูด และการตอบสนองอาจผิดพลาดความผิดปกติของไวยากรณ์ในภาษาทำให้การเรียงลำดับและการจัดรูปประโยคผิดได้ หรือพูดคำที่ไม่มีความหมายเลย มีความผิดปกติในการใช้ภาษา ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดลำบาก พูดได้ช้า พูดเป็นประโยคสั้น ๆ เป็นภาษาโทรเลข
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย ได้สรุป อาการของผู้มีภาวะสูญเสียการสื่อความ เอาไว้ ดังนี้
สาเหตุของโรค
ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร ซึ่งมักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย
การที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย ทำให้การลำเลียงเลือดเข้าสู่ในบริเวณดังกล่าวถูกขัดขวางจนทำให้เนื้อสมองตายในที่สุด ซึ่งภาวะ Aphasia อาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันหลังเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือการเข้ารับการผ่าตัดสมอง นอกจากนี้ ในบางรายอาการอาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสาเหตุอาจมาจากเนื้องอก การติดเชื้อในสมอง โรคทางระบบประสาท หรือภาวะเสื่อมถอยของสมองอย่างโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะ Aphasia มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดในสมองแตกมากที่สุด ส่วนภาวะ Aphasia แบบชั่วคราวมักมีสาเหตุมาจากอาการไมเกรน อาการชัก หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ในอนาคต
แนวทางการรักษา
แพทย์จะรักษาภาวะ Aphasia ด้วยวิธีการบำบัดทางการพูดและภาษาเป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูความสามารถด้านการใช้ภาษาและเสริมทักษะการสื่อสาร โดยผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสุขภาพทั่วไป ระดับความผิดปกติของการใช้ภาษา และทักษะทางสังคมก่อนเข้ารับการบำบัดจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
การบำบัดดังกล่าวมีทั้งการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญ การทำกลุ่มบำบัด และการทำครอบครัวบำบัด โดยในขั้นตอนของการบำบัด แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะฝึกหรือทบทวนการใช้คำ ใช้ประโยคที่ถูกต้อง การพูดทวน และการถามตอบที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คำศัพท์และเสียงของคำต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เข้าร่วมบทสนทนา สื่อสารได้เมื่อถึงเวลาของตนเอง เข้าใจในข้อผิดพลาดทางการใช้คำและแก้ไขบทสนทนาที่ผิดพลาดนั้นได้
โดยทั่วไป อาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ได้ผลดีขึ้นหลังทำการบำบัดติดต่อกัน แต่บางรายอาจใช้เวลานานกว่าปกติในการบำบัด โดยจากการศึกษาพบว่าการบำบัดจะได้ผลที่ดีที่สุดเมื่อเริ่มทันทีหลังจากที่ร่างกายและสมองเริ่มฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บจนอยู่ในอาการที่ปลอดภัย
มีวิธีการป้องกันหรือไม่
สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายต่อสมองและดูแลสุขภาพของสมองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สภากาชาด และ เว็บไซต์พบแพทย์