จากพระแว่นสุริยกานต์ ถึงขุนสูงสุมาร และพระอรหันต์ ๘ ทิศ

07 ก.ย. 2567 | 02:30 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ย. 2567 | 02:40 น.

จากพระแว่นสุริยกานต์ ถึงขุนสูงสุมาร และพระอรหันต์ ๘ ทิศ คอลัมน์ Cat out of the box โดย พีรภัทร์ เกียรติภิญโญ

พระบรมฉายาลักษณ์ที่อัญเชิญมานี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชฯ ทรงพระแว่นสุริยกานต์ เพื่อพระราชทานกำเนิดเพลิงจากการรวมศูนย์ความร้อนจากแสงอาทิตย์บริเวณดาดฟ้า พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในกรุงเทพพระมหานคร พระแว่นสุริยกานต์หรือพระแว่นขยายรวมแสงอาทิตย์นี้มีมาแต่โบราณกาล

 

จากพระแว่นสุริยกานต์ ถึงขุนสูงสุมาร และพระอรหันต์ ๘ ทิศ

 

ในเชิงสัญญลักษณ์เคยได้ใช้ประกอบตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และเคยได้ใช้ประกอบตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5

สื่อความหมายว่าทรงใช้เครื่องมือพิเศษพิเคราะห์ศึกษา ศาสตร์ต่างๆของโลก ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรง มีพระปรีชาญาณสามารถคำนวณปรากฏการณ์สุริยุปราคาได้แม่นยำ ตามที่ทราบกันมาในวงกว้างทั่วไป

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในพระองค์ท่าน ซึ่งดำรงอยู่ในที่พระรัชทายาทเมื่อเสด็จผ่านพิภพขึ้นทรงราชย์ได้ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึง และด้วยเหตุที่ทรงเปี่ยมความกตัญญุตาคุณเปนที่ตั้ง ทรงเฉลิมพระนามพระองค์เองเปนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า สำคัญหมายถึงคำนึงพระทัยว่าทรงเล็กกว่า ทรงเปนผู้น้อยกว่า_ กว่า สมเด็จพระบรมชนกนาถ (จุล_แปลว่าเล็ก/น้อย)ตามคติเคารพอาวุโสและเคารพบูชาบรรพกษัตริย์องค์ผู้พระราชทานพระราชสมภพและโดยนัยเดียวกัน ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์จึงเปน พระจุลมงกุฎ เครื่องศิระ_อาภรณ์อันน้อยกว่า เล็กกว่า พระมหามงกุฎตามพระปรมาภิไธย สมเด็จพระราชบิดา ซึ่งต่อมาเรียกโดยคำศัพท์อีกคำกันว่า พระเกี้ยว

ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ท่านนั้น ก็อัญเชิญตราเดิมประจำพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถมาเปนหลัก ประกอบจุลมงกุฎประจำพระองค์ ซึ่งตราพระราชลัญจกรเดิมนั้น มีพระแว่นสุริยกานต์ตามที่กำลังกล่าวถึงนี้ประกอบอยู่ด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่าเพลิงไฟ อันทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานในการพิธีต่างๆไม่ว่าจะเปนไฟพระฤกษ์ ในการกีฬา หรือเพลิงพระราชทาน ในการศพนั้น

ทรงมีความวิริยะอุตสาหะมาก ได้มีพระมหากรุณาพระราชทานจากสิ่งสูงของมนุษยโลกจากกำลังแสงดวงพระอาทิตย์ประธานของระบบสุริยะในจักรวาฬผ่านยังพระหัตถ์ที่ทรงถือพระแว่นสุริยกานต์เลนส์นูนรวมแสง เสมือนว่าทรงกระทำหน้าที่สมมติเทวราช ประสานความบริสุทธิ์จากจักรวาฬโลก มายังมนุษยโลกด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะ ด้วยพระราชประสงค์จำนงหมายแน่วแน่ จะส่งมอบสิ่งสะอาดบริสุทธิ์แก่อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ท่านโดยมิย่อท้อ

ทุกวันนี้จะพบรูปพระแว่นสุริยกานต์ปรากฏในตราประจำสำนักงานอัยการสูงสุดอีกกรณีหนึ่ง ด้วยเช่นกัน พระบรมฉายาลักษณ์อีกองค์หนึ่งที่อัญเชิญในวันนี้ เปนอีกเรื่องหนึ่งที่อาจไม่มีผู้ใดทราบนัก คือสายสัมพันธ์ สองแผ่นดิน ไทย-พม่า

 

จากพระแว่นสุริยกานต์ ถึงขุนสูงสุมาร และพระอรหันต์ ๘ ทิศ

 

คราวเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จออกทรงพระผนวช ฯพณฯ บะอู้ ประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่าในเวลานั้น  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เอกอัครราชทูตพม่า ณ กรุงเทพมหานครเข้าเฝ้าฯ ถวายเครื่องอัฐบริขาร  อันปวงเราชาวพุทธตรวจศาสนิกชน เมื่อได้ยลเห็นภาพนี้แล้วย่อมมีความปลาบปลื้มยินดีในพระบารมีแผ่ไพศาลทั่วทุกทิศนุทิศ อีกทั้งพลอยมุทิตาโมทนาสาธุการ ท่านประธานาธิบดี และ ผู้มีส่วนในกองบุญกองกุศลครานี้ด้วย

เรื่องถัดมาก็จะขอกล่าวถึง เรื่องพญาสูงสุมาร และการกลับใจของท่านสูงสุมารนี้เปนคำคนไทยสมัยเดิมใช้เรียกจระเข้ ซึ่งไม่ใช่จระเข้ธรรมดา ต้องระดับพญาจระเข้ ในวัฒนธรรมของอียิปต์ให้ความนับถือจระเข้อย่างว่าเป็นเทพเจ้า อาจจะเปนด้วยเหตุว่าจระเข้นั้นอายุยืน ตายยาก แม้กระทั่งได้รับบาดเจ็บถึงเลือดถึงเนื้อก็สมานแผลตัวเองได้ จึงเปนที่ให้ความนับถือกันโดยทั่วไป

ในขณะที่ทางประเทศไทยของเราเวลาทำบุญกฐินต่างๆ ขบวนกฐินที่แห่ไปนั้นมักจะมีธงจระเข้คาบบัวติดไปด้วย หรือมิเช่นนั้นทางวัดก็ปักธงจระเข้เอาไว้รับขบวนกฐินธงตะเข้คาบบัว แทนความหมายลึกซึ้งของการกลับใจ

นิทานสำนวนหนึ่งที่น่าเชื่อถือ กล่าวว่าเดิมทีจระเข้ผู้ถูกจำลองภาพมาไว้ในธงนี้ ในภพชาติก่อนจะเปนจระเข้ ท่านเปนมหาเศรษฐีมีสมบัติพัสถานมาก ทั้งที่บ้านที่นา ที่ร้านที่ตลาด ยามสิ้นบุญลงก็ให้ห่วงหาอาลัยในทรัพย์มากตายไปดวงจิตตกในอบายด้วยเหตุยึดมั่นอุปาทานธนสารสมบัติ ดังนี้

ตายไปจุติใหม่ ก็ไปเกิด กลายเปนจระเข้อยู่เฝ้าขุมทรัพย์ที่ตัวซ่อนไว้ตะแกไม่ใช่จระเข้ทำมะดา  เปนจระเข้ใหญ่ ตามภาษาไทยเดิมเรียก สูงสุมาร ตาสูงสุมารนี้ เห็นทุกข์ของการเปนจระเข้เดรัจฉาน ใช้ชีวิตก็ครึ่งบกครึ่งน้ำลำบากลำบน คอยพะวงหวงห่วงทรัพย์ นึกอยากจะหลุดพ้นทุกขะภาวะ นี้ก็ไม่รู้จะทำไง ยามชาติก่อนเปนคนขี้เหนียวเหลือประมาณ ทาน ศีลภาวนาไม่เคยจะทำจะให้มาครานี้นึกขึ้นได้ เห็นเรือชาวบ้านเขาตั้งขบวนไปถวายเทียนพรรษาบ้าง ไปทอดกฐินบ้าง ก็ขอพ่วงตามเรือเขาไปด้วย_เอาบุญ

 

จากพระแว่นสุริยกานต์ ถึงขุนสูงสุมาร และพระอรหันต์ ๘ ทิศ

 

ชาวบ้านก็รังเกียจแกมรังกลัว กลัวแกจะมางาบเอา ตะแกเลยคาบดอกบัว (อันเปนสัญลักษณ์ของปัญญา) ทำให้เห็นว่ามาร่วมบุญ มาโมทนา เมื่อได้กลับใจแล้ว ถึงวันสิ้นอายุชัย แกก็ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีชาวบ้านก็คิดถึงแก_จระเข้ ทำธงรูปแก_รูปจระเข้ติดเรือไว้ ยามจะตั้งขบวนไปทำบุญก็เอารูปแกไปด้วยเปนการประกาศเขตงานบุญงานกุศล

ผู้มีความรู้ เล่าว่าอนึ่งยันต์นี้ดีทางการป้องกันภัยันตรายมาครานี้นึกขึ้นได้ เห็นเรือชาวบ้านเขาตั้งขบวนไปถวายเทียนพรรษาบ้าง ไปทอดกฐินบ้าง ก็ขอพ่วงตามเรือเขาไปด้วย_เอาบุญชาวบ้านก็รังเกียจแกมรังกลัวแกจะมางาบเอา ตะแกเลยคาบดอกบัว (อันเปนสัญลักษณ์ของปัญญา) ทำให้เห็นว่ามาร่วมบุญ มาโมทนา

เมื่อได้กลับใจแล้ว ถึงวันสิ้นอายุชัย แกก็ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี ชาวบ้านก็คิดถึงแก_จระเข้ ทำธงรูปแก_รูปจระเข้ติดเรือไว้ยามจะตั้งขบวนไปทำบุญก็เอารูปแกไปด้วยเปนการประกาศเขตงานบุญงานกุศล

อนึ่งผู้มีความรู้เล่าว่า รูปจระเข้นี้ดีทางการป้องกันภยันตราย คล้ายกับยันต์เปนตะเข้ขบฟัน คือ ศัตรูนั้นอ้าปากหามิได้

ทว่าในอีกทางหนึ่งบ่งรหัสนัยว่า แม้เกิดมาต่ำต้อยเดรัจก็พ้นทุกข์ได้เมื่อเข้าใกล้ร่มพระศาสนา ที่ตำบลจระเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีกำนันปกครองอยู่ท่านมีบรรดาศักดิ์เปนขุนสูงสุมารเขต ท่านผู้นี้เป็นผู้มีใจกุศลบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนไว้ให้เยาวชนลูกหลาน มีอายุเกือบ 100 ปีชื่อโรงเรียนสูงสุมารผดุงวิทย์

อีทีนี้ไหนๆก็ไหนๆแล้ว กล่าวถึงเรื่องยันต์ คุณผู้อ่านกรุณาทักถามมานานแล้ว ด้วยว่าท่านไปได้เสื้อยันต์มาจากสำนักแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ท่านก็มาชี้ชวนดูให้ช่วยกันถอดรหัส ก็พบว่าเสื้อยันต์นี้เปนเสื้ออรหันต์ 8 ทิศผู้สร้างอ้างเอาอานุภาพพระอรหันต์สำคัญทั้ง 8

 

จากพระแว่นสุริยกานต์ ถึงขุนสูงสุมาร และพระอรหันต์ ๘ ทิศ

 

เดิมทีโบราณจารย์สร้างระบบแปดทิศจะชักยันต์ ขึ้นยันต์หนึ่งเรียกว่ายันต์แปดทิศจากเสื้อยันต์นี้จะเห็นว่าทิศใต้พระอรหันต์ประจำทิศจะไม่กลับหัวอย่างยันต์กลับตีวงเข้าล้อมเปนอัฐรังษี เปล่งออกจากพระยูไลพุทธเจ้า

กล่าวคือไม่บังอาจเขียนยันต์เอง คือนอบน้อมว่าตัวเองยังเล็กนักเทียบกับพระพุทธคุณ ทั้งยังประกาศเกียรติคุณว่า พระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีผู้ปฏิบัติตามแล้ว บรรลุมรรคผลได้จริงอย่างน้อยมี 8 คนตามพระอรหันต์ที่เรียงรายอยู่โดยรอบนี้

ส่วนภาคอานุภาพนั้นอิงตามความเปนเอตทัคคะของพระอรหันตสาวกแต่ละรูปว่าท่านใดเลิศด้านไหนได้มาประชุมรวมกัน ท่านพระโกณฑัญญะ_เปนเอตทัคคะ ทาง รัตตัญญู รู้ราตรี ผ่านกาลเวลามามาก

ท่านพระมหากัสสะปะ_เปนเอตทัคคะ ทางสรรเสริญแลถือธุดงค์
ท่านพระสารีบุตร_เปนเอตทัคคะ ทาง มีปัญญา
ท่านพระอุบาลี_ เปนเอตทัคคะ ทาง ทรงพระวินัย
ท่านพระอานนท์_เปนเอตทัคคะ ทาง พหูสูต สติ/คติ / ความเพียร/ พุทธอุปัฏฐาก
ท่านพระกัจจายนะ_เปนเอตทัคคะ ทางการอธิบายเรื่องย่อให้พิศดาร(ละเอียด)
ท่านโมคคัลลานะ _เปนเอตทัคคะ ทาง ผู้มีฤทธิ์
ท่านพระราหุล _ เปนเอตะทคคะ ทาง ใฝการศึกษา
ท่านเหล่านี้เปนอสีติมหาสาวก คือสาวกผู้ใหญ่ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในจำนวนทั้งสิ้น 80 รูป