หลังจากประเทศไทยได้ทำ“ความตกลงปารีส (Paris Agreement)” โดยตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกไว้ที่ 20 - 25 % ภายในปี 2573 ต่อมาเมื่อพิจารณาศักยภาพของประเทศไทยและเป้าหมายระยะยาวที่จะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emission) ในปี 2608 ประเทศไทยจึงได้ยกระดับเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศใหม่ไว้ที่ 30 - 40 % ภายในปี 2573 โดยในส่วนของการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.11 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573
จากเป้าหมายดังกล่าว ทำให้หน่วยงานต่างๆที่รับผิดชอบ ได้มีการวางแผนงานเพื่อจะไปสู่เป้าที่ได้วางไว้ ในส่วนของกรมควบคุมมลพิษ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล และประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการของเสียชุมชนของประเทศ อันประกอบด้วย
การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และการจัดการน้ำเสียชุมชน ตามแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี 2564 – 2573 เพื่อใช้เป็นข้อมูลการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประจำทุก 2 ปี
สำหรับการรายงานปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จะใช้ข้อมูลจากการคำนวณการปล่อยและลดก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดขยะมูลฝอยเป็นหลัก โดยกำหนดรูปแบบเทคโนโลยีที่ใช้ 6 เทคโนโลยีที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ ได้แก่
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนลดลงได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกควบคู่ โดยการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้นทาง ทั้งนี้ประกอบไปด้วย 6 วิธีการดังนี้
นอกจากแผนงานที่ได้วางไว้ กรมควบคุมมลพิษยังเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร โดยจะทำการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีความรู้และความเข้าใจในการนำเข้าข้อมูลและประเมินการปล่อยและลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้อย่างถูกต้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง