‘FAIR FOOD’

05 มี.ค. 2559 | 00:00 น.
ไม่นานมานี้ สมัยผมยังทำงานอยู่กับบริษัทผู้ผลิตอาหารส่งออกของประเทศไทยบริษัทหนึ่ง เราผลิตข้าวโพดหวานกระป๋องส่งให้กับ TESCO อังกฤษ ยักษ์ใหญ่ RETAIL อาหารของโลก

เมื่อทำงานรับใช้ "ยักษ์" เราก็ต้องเชื่อฟัง

อย่างจะทำ "สับปะรด" กระป๋องให้กับ WALMART ยักษ์อีกตัวของอเมริกาที่ใหญ่ที่สุดของโลก (ทายาท 4 คน ของ SAM WALTON ผู้ก่อตั้งเรียงกันอยู่ใน 10 อันดับแรกของอภิมหาเศรษฐีโลก)
WALMART มีเงื่อนไขให้กับโรงงานว่าห้ามทำ OVERTIME ขณะที่คนงานของเรา ถ้าไม่ทำ OT ก็อยู่ไม่ได้

วันดีคืนดี TESCO เชิญเราไปร่วมประชุม SUPPLIER ทั่วโลกที่ HONG KONG

หัวข้อสำคัญ คือ ระวังเรื่อง "แรงงานเด็ก"โรงงาน SUPPLIER ของ TESCO จะใช้ "แรงงานเด็ก" ไม่ได้ในที่ประชุม ผู้บริหาร TESCO ขอร้องให้โรงงานเคร่งครัดปฏิบัติตาม เพราะ PRESSURE จาก CONSUMERSทุกวันจะมีผู้บริโภคตั้งป้ายประท้วงหน้า TESCO สาขาต่างๆมีผู้กล้าหาญลุกขึ้นถามกลางที่ประชุมเหมือนกัน ถ้าไม่ใช้เด็ก ไม่ให้เด็กทำงาน ในประเทศที่ยากจนด้อยพัฒนาจะให้ "เด็ก" ออกไปหากินกลางถนน หรือเป็น "โสเภณีเด็ก" หรืออย่างไรกระแส "ผู้บริโภค" สำคัญมากในโลกพัฒนาบ่อยครั้งดูเหมือนสหรัฐอเมริกา ยุโรปบีบประเทศรับจ้างผลิตอาหารอย่างเรา ด้วยมาตรการที่ดูไร้สาระ อย่างเช่น ขนไก่ไปฆ่าต้องให้ไก่อยู่ในกรงอย่างมีความสุข ไม่แน่นไปการจับสัตว์น้ำ ต้องไม่ใช้แหอวนที่ลากเอาปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมาด้วย ฯลฯ

กระแส "ผู้บริโภค" จะเห็นอกเห็นใจ "คนงาน" มากขึ้น ห้ามใช้ "แรงงานเด็ก" "แรงงานทาส"จะทะนุถนอม "โลก" มากขึ้น อย่าสร้างปัญหา "โลกร้อน" อย่าใช้ "ทรัพยากร" อย่างสิ้นเปลือง (ทั้งสิ้นก็เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้มี "ทรัพยากร" ใช้และอยู่อย่างสบาย (พอสมควร))

กระแสใน "อเมริกา" เอง อย่าคิดว่า "คนงาน" จะมีชีวิตเลิศประเสริฐศรีกว่า "คนงาน" ในประเทศแถบบ้านเรามากนัก

กระแส "FAIR FOOD" ในอเมริกาที่กำลังแพร่หลาย มีความหมายเพื่อจะหยุดแรงงานทาส ค้ามนุษย์ และปรับสภาพความเป็นอยู่การทำงานของ "คนงาน"ปัญหาเหล่านี้ ในอเมริกาเองก็มีมี CASE ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรกรปลูก/เก็บ "มะเขือเทศ" ในรัฐ FLORIDAผลสีแดงสวยงามที่กว่าจะมาถึง SUPERMARKET PACK ในรถ CART โต๊ะผู้บริโภคและจานสลัดผู้กินเบื้องหลังคือ เลือดเนื้อหยาดเหงื่อ "คนงาน" ในสภาพการทำงานที่ลำบากยากเข็ญอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาที่ชื่อ USA

สภาพการทำงานของอุตสาหกรรม "มะเขือเทศ" ในรัฐ FLORIDA ในอดีตไม่นานมานี้เป็นแรงดลใจให้เกิดหนังสารคดีของ EDWARD R.MURROW ชื่อเรื่อง "HARVEST OF SHAME" มีทั้งความร้ายกาจของการโกงค่าแรง การทุบตี การทรมาน ฯลฯสภาพการทำงานและสถานที่ทำงานขั้นพื้นฐานที่ต้องมีตามปกติ เพื่อเอื้อให้ "คนทำงาน" ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (และไม่เกิดโรคภัยกับตนเอง) ถูกปฏิเสธต้องสรรเสริญนักศึกษาศิษย์เก่า BROWN UNIVERSITY (มหาวิทยาลัย IVY LEAGUE ของสหรัฐในรัฐ RHODE ISLAND) 2 คน GREG ASBED และ LAURA GERMINO (จบปี 1985 และ 1984) ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากภาพยนตร์ที่แฉให้เห็นความโหดร้าย

ศิษย์เก่า BROWN 2 คนนี้ได้ตั้ง "องค์การอิสระ" CIW และทำการเผยแพร่สิทธิที่คนงานในไร่มะเขือเทศควรได้รับ และปลอดจากความโหดร้าย ความเอาแต่ได้ของเจ้าของอุตสาหกรรมเมื่อทำงานในไร่ร้อนๆ คนงานมีสิทธิที่จะได้ดื่มน้ำสะอาดมิสิทธิที่จะเดินหนีจากสเปรย์ยาฆ่าแมลง และควรได้รับ "ค่าแรง" อย่างยุติธรรมในทุกชั่วโมงการทำงานคนงานจะต้องไม่ถูกทรมาน ไม่ว่าทางคำพูดหรือการทำร้ายร่างกายคนงานมีสิทธิจะออกจากไร่มะเขือเทศ เมื่อรู้สึกว่า "ทนไม่ได้" ฯลฯ

ผลงานช่วยเหลือให้ความรู้และต่อสู้เพื่อสภาพการทำงานที่ดีขึ้นในไร่มะเขือเทศ ของ 2 บัณฑิต BROWN UNIVERSITY พัฒนาเป็น FAIR FOOD PROGRAM และไร่ที่ให้ความร่วมมือ ผลิตผลทางการเกษตรที่ออกมาจะได้ติด STICKER "CERTIFIED FAIR FOOD"

"ผู้บริโภค" ที่ให้ความร่วมมือ เลือกซื้อแต่ "FAIR FOOD PRODUCT" มาแรงมาก จนกระทั่ง "ยักษ์ใหญ่" อย่าง WALMART MCDONALD ฯลฯ ก็ต้องให้ความร่วมมือ จะทำตัวเป็น "ยักษ์ใหญ่" ที่น่าเกลียดไม่ได้ อีกต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,136 วันที่ 3 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2559