วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายห้องชุดที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๗
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๕ ทวิ และมาตรา ๓๕ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบกับมาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการกําหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ธุรกิจการขายห้องชุดที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ธุรกิจการขายห้องชุดที่มีการจอง” หมายความว่า การประกอบธุรกิจที่ผู้บริโภคเข้าทําสัญญาจอง ซื้อห้องชุดในอาคารชุดกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยผู้บริโภคจ่ายเงินจองหรือประโยชน์อื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกับเงินจองที่ไม่ใช่เงินมัดจํา หรือ เงินดาวน์ เพื่อเป็นประกันว่าผู้บริโภคจะมาทําสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายต่อไป ทั้งนี้ ให้รวมถึงการขายห้องชุดที่มีการจองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
“แบบสัญญาท้ายประกาศ” หมายความว่า แบบสัญญามาตรฐานสัญญาจองห้องชุดท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ สัญญาจองห้องชุดที่ผู้ประกอบธุรกิจทํากับผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร โดยมีจํานวนตัวอักษร ไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสําคัญและเงื่อนไข ตามแบบสัญญา ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทํากับผู้บริโภคตามแบบสัญญาท้ายประกาศนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะ หรือมีความหมายทํานองเดียวกัน ดังต่อไปนี้
(๑) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้น หรือ จํากัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ
(๒) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงสัญญา หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่กําหนดในสัญญา ทําให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทําสัญญา
(๓) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นหนังสือ หรือโดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสําคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา
(๔) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจริบเงินทั้งหมด หรือบางส่วน เว้นแต่ผู้บริโภคเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
(๕) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจในการที่จะกําหนดให้เงินจอง หรือประโยชน์อื่นใด ในลักษณะทํานองเดียวกับเงินจองที่ไม่ใช่เงินมัดจํา หรือเงินดาวน์ในสัญญา เป็นเงินมัดจําหรือเงินดาวน์
(๖) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจ ในการเรียกเก็บเงินค่าโอนสิทธิการจองซื้อห้องชุดจากผู้บริโภค
(๗) ข้อสัญญาที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินส่วนกลาง
(๘) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้บริโภคโดยไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ ๖ สัญญาจองห้องชุด ต้องจัดทําขึ้นสองฉบับซึ่งมีข้อความถูกต้องตรงกันโดยผู้ประกอบธุรกิจส่งมอบสัญญาจองห้องชุดหนึ่งฉบับตามแบบสัญญาท้ายประกาศนี้ให้แก่ผู้บริโภคทันทีที่ได้ลงนาม ในสัญญา กรณีการขายห้องชุดที่มีการจองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กําหนด
ข้อ ๗ กรณีการขายห้องชุดที่มีการจองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดให้มีข้อความภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กําหนด และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสําคัญ และเงื่อนไข ตามแบบสัญญาท้ายประกาศนี้
ข้อ ๘ ให้นําความในข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับธุรกิจการขายห้องชุดที่มีการจอง ซึ่งมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นคนกลาง โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งมอบสัญญาจองห้องชุดที่ตกลงกันตามแบบสัญญา ท้ายประกาศนี้ให้แก่ผู้บริโภค
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
ธสรณ์อัฑฒ ธนิทธิพันธ์
ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา
คลิกดูเพิ่มเติมจากราชกิจจานุเบกษา