วันนี้(20ก.ค.63) ที่กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน – จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(NPC) ซึ่งจะมีการขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน – จีน สมัยพิเศษว่าด้วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
โดยสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ผ่านการดำเนินการต่าง ๆ 6 ด้าน 1. จัดการประชุมผู้นําอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคไวรัสโคโรนาในเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างคุณค่าและยกระดับ ความร่วมมือให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างคุณูปการแก่การสาธารณสุขโลก
2. ส่งเสริมการหารือเชิงนโยบายและการแลกเปลี่ยนผ่านกลไกการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน-จีน และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน-จีน เพื่อดําเนินการตามบันทึกความเข้าใจ ด้านสาธารณสุขอาเซียน-จีนอย่างเต็มที่ และสนับสนุนโครงการความร่วมมือให้มากยิ่งขึ้น
3.ร่วมกันยกระดับประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ประสบการณ์ และฝึกอบรมบุคลากร จัดการประชุมปฏิบัติการอาเซียน-จีน ในด้านบุคลากรด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมโรคในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคและหน่วยงานของ อาเซียนที่เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมย่อยระหว่างการประชุมอาเซียน-จีน ครั้งที่ 3 ว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่จะจัดขึ้นในปีนี้ เพื่อดําเนินการหารือในเชิงลึกในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคฯ
4. แบ่งปันข้อมูลอย่างทันท่วงทีต่อไป ซึ่งรวมถึงแนวปฏิบัติทางเทคนิค และแนวทางการป้องกันและควบคุมการวินิจฉัยโรค การรักษาและการเฝ้าระวังและความร่วมมือในการวิจัย และพัฒนายารักษาโรคและวัคซีนป้องกันโรค
5.ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ประโยชน์จากปีแห่ง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน-จีน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากของการแพร่ระบาด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัล
6.มุ่งมั่นในการลดผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศ และร่วมกันรักษาไว้ซึ่งการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน กิจกรรมการค้าและการลงทุนในภูมิภาค และดําเนินการให้ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างเต็มรูปแบบในโอกาสแรก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานสอง ความคืบหน้าของการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป
โดยถ้อยแถลงระบุด้วยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ระลึกถึงการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินร่วมกันของประเทศอาเซียนและจีนต่อความท้าทายที่สําคัญ เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย เหตุคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย การแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) และแผ่นดินไหวที่เมืองเวิ่นชวน ธรรมเนียมปฏิบัติของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในห้วงเวลาแห่งความยากลําบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมผู้นําอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคซาร์ส ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 ที่ได้แสดงถึงบทบาทที่เป็น แบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขในภูมิภาค
ตระหนักถึงความท้าทายข้ามพรมแดนที่เกิดจากโรคไวรัสโคโรนาและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ในการร่วมกันจัดการกับความท้าทายนี้ เพื่อปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัยของประชาชน และการพัฒนาทาง สังคมและเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และเพื่อสะท้อนข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกอันเป็น คุณูปการที่สําคัญต่อการสาธารณสุขของโลก
เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนและความจําเป็นที่เพิ่มขึ้นต่อความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคฯจากการที่ ประเทศอาเซียนและจีนมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวที่สําคัญของกันและกัน ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างกันกว่า 65 ล้านคน และจีนยังเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน ในขณะที่อาเซียน เป็นคู่ค้าใหญ่อันดับที่สองของจีน
“เห็นพ้องที่จะเพิ่มความร่วมมือต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคเอ็นซีพี(ไวรัสโคโรนา)ในภูมิภาค อันเป็นการช่วยสั่งสมประสบการณ์ ขยายความร่วมมือและทํางานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน สําหรับความท้าทายในอนาคต”
แถลงการณ์ระบุอีกว่า ประเทศอาเซียนตระหนักเป็นอย่างยิ่งต่อมาตรการที่แน่วแน่และเข้มแข็งของจีนในการต่อสู้กับการแพร่ระบาด ชื่นชมความตรงไปตรงมา ความโปร่งใสและความรับผิดชอบอย่างสูงของจีนในการแบ่งปันข้อมูลอย่างทันท่วงที ชมเชยความพยายามอย่างยิ่งของจีนที่ได้ปกป้องความมั่นคงด้านสาธารณสุขในภูมิภาค และขอแสดงความเชื่อมั่น อย่างยิ่งต่อความสามารถอย่างเต็มที่ของจีนที่จะมีชัยชนะในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดนี้ ในการนี้ จีนซาบซึ้งใน มิตรจิตมิตรใจและการสนับสนุนของประเทศอาเซียนในความพยายามนี้
“ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียชีวิต และขอแสดงความเห็นใจต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบและ ขอสรรเสริญบุคลากรทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายกักกันโรคเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งบุคลากร อื่น ๆ ที่ได้ทํางานอย่างกล้าหาญในแนวหน้าต่อสู้กับการแพร่ระบาดนี้”
ในตอนท้ายของถ้อยแถลงกล่าวว่า เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศส่งเสริมความร่วมมือ เคารพต่อข้อเสนอแนะ ที่เป็นมืออาชีพขององค์การอนามัยโลก ซึ่งรวมถึงการไม่ดําเนินมาตรการที่แทรกแซงการเดินทางและการค้า ระหว่างประเทศอย่างไม่จําเป็น การสนับสนุนประเทศที่มีระบบสาธารณะที่มีความเข้มแข็งน้อยกว่า การต่อสู้กัน การแพร่กระจายของชาวลือและข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสม และการแบ่งปันข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ กับองค์การอนามัยโลกและโลก