โรคนี้สามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ หากเข้าทำลายระยะช่อดอกและ ผลอ่อนจะปรากฏกลุ่มเชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้งปกคลุม กลีบดอกและผลอ่อนเห็นเป็นผงสีขาว (คือเส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา) ขึ้นปกคลุมทั้งผลหรือด้านใดด้านหนึ่งของผล
ถ้าการเข้าทำลายรุนแรงในระยะติดผล ใหม่ๆ อาจทำให้ผลอ่อนร่วงได้ หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโต จะทำให้สีผิวของเปลือกทุเรียนผิดปกติ (เป็นสีน้ำตาลแดง ไม่เป็นมัน) และทำให้หนามทุเรียนเป็นรอยแตกเล็ก ๆ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราปลิวไปกับลมในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งและเย็น พบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกทุเรียน แต่ไม่พบการระบาดมากนัก นอกจากในสวนทุเรียนที่อยู่ใกล้สวนยางพารา หรือใกล้ป่าไม้ ซึ่งมีสภาพความชื้นสูง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ในแหล่งปลูกที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค เกษตรกรควรตรวจตราใบและผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เช่น ไพราโซฟอส 29.4% W/VEC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบนโนมิลหรือกำมะถันผงชนิดละลายน้ำ (wettablesulfur) เป็นต้น