ธุรกิจไทยจะอยู่อย่างไร เมื่อโดนทุนจีน ทะลักเข้ามาทุกช่องทาง (จบ)

23 ส.ค. 2567 | 22:02 น.

ธุรกิจไทยจะอยู่อย่างไร เมื่อโดนทุนจีน ทะลักเข้ามาทุกช่องทาง (จบ) : ผู้นำวิสัยทัศน์ นางสาวกมลธิดา พรรณพิพัฒน์ Corporate communications: IPG Mediabrands Thailand

นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจเหล่านี้ในอีกมุมหนึ่งทำให้เกิดวัฎจักรการกลืนกินจากธุรกิจของจีนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบที่คนไทยไม่ทันได้ตั้งตัว

• ภาคอุตสาหกรรม สินค้าในประเทศจีนจากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐและกำลังผลิตของโรงงานทำให้มีสินค้าที่ผลิตสินค้ามากเกินความต้องการของคนในประเทศ แต่แทนที่ละลดการผลิตในประเทศ แต่จีนกลับใช้ มาตรการ ‘ผลักดันสินค้าไปต่างประเทศ’ แทน โดยช่องทาง ในการกระจายสินค้าของจีนก็เข้ามา อย่างเนียนๆคือ ‘ช่องทาง Online’

ธุรกิจไทยจะอยู่อย่างไร เมื่อโดนทุนจีน ทะลักเข้ามาทุกช่องทาง (จบ)

โดยใช้กลยุทธ์ สินค้าถูก ส่งฟรี ส่งไว ที่มีสินค้ากระจายอยู่ตาม Social Media อย่าง TikTok และ Marketplace อย่าง Shopee, Lazada และ Platform น้องใหม่อย่าง ‘Temu’ ที่มีบริการส่งฟรี ส่งไว และคืนสินค้า ได้ใน 90 วัน ซึ่ง Temu เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐอเมริกา และยังทำให้เจ้าใหญ่อย่าง Amazon สั่นคลอนมาแล้ว

โดย Temu เป็น application ที่พัฒนามาจาก PINDUODUO (พินตัวตัว) Marketplace เจ้าใหญ่ของประเทศจีนทีใช้กลยุทธ์ ‘Group buying’ ยิ่งรวมกันซื้อเยอะขึ้นสินค้ายิ่งราคาถูกลง ที่ทำให้ PINDUODUO เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ส่งผลกระทบ ต่อผู้ผลิตในไทยและผู้นำเข้าสินค้าที่ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้

• ร้านอาหารและร้านค้าปลีก ช่วงที่ผ่านมาใน Social media เกิดประเด็นร้อนแรงของร้านอาหารจากจีน และเกิดการตื่นตัวจากการเข้ามาของธุรกิจของจีนมากขึ้น จาก ที่วัตถุดิบในการทำอาหาร อุปกรณ์ และของใช้ทุกอย่างที่ถูกนำเข้าจากประเทศจีนที่ทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศแต่ไม่ได้ส่งผลดีด้านใดต่อประเทศไทยเลย

และจากความสามารถในการผลิตและการควบคุมของจีน ทำให้ต้นทุนที่จะขายสินค้านั้นแทบจะได้เปรียบผู้ผลิตในไทย ทำให้ร้านขายปลีกในไทยอยู่ได้ยากมากๆ ในการขายสินค้าในตลาดปัจจุบันเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศจีน

• ธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย ถ้ามองในมุมของการมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นยิ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายในประเทศ แต่ในกลุ่มนักท่องเที่ยว จีนกลับต่างออกไป เนื่องจากบริษัทนำเที่ยว รถ และพนักงานที่บริการทั้งหมดจะเป็นคนจีน และเน้นเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของจีนในไทย

• การเป็นเจ้าของ นักลงทุนของจีนมีเข้ามาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์, สวนผลไม้ สวนต้นไม้, โรงเรียน มหาวิทยาลัย ส่งผลทำให้จีนเข้ามาแทรกแซงธุรกิจได้ตั้งแต่ต้นน้ำ

• การส่งออกนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย เมื่อนักธุรกิจของจีนเข้ามาเป็นเจ้าของและยังดำเนินการส่งออกสินค้ากลับไปประเทศจีนเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางของประเทศไทยเรียกได้ว่า มาใช้ทรัพยากรและส่งของกลับบ้าน อย่างแท้จริง

อีกหนึ่งสี่งที่ทำให้ประเทศจีนเข้ามาถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นก็คือ การใช้กลยุทธ์การตลาดแบบการทุ่มตลาด (Dumping) คือกำหนดราคา ขายที่ต่ำมากๆกว่าราคาของตลาด เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาธุรกิจและกำจัดคู่แข่งทางการค้าออกไป จนตัวเองเป็นเจ้าตลาดในที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายในไทยจะสามารถแข่งขันได้คือ “การสร้างความแตกต่าง” ของสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าที่เน้นแต่การผลิตที่มีปริมาณเยอะและขายราคาถูกได้ จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ประเทศไทยต้องกลับมาตั้งคำถามแล้วว่าควรจะมีมาตรการปกป้องผู้ผลิตหรือนักลงทุนในประเทศอย่างไรก่อนที่จะสายเกินไป

 

ที่มา: Facebook, เกษตรกรก้าวหน้า

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 44 ฉบับที่ 4,020 วันที่ 22 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2567