‘GREATER BANGKOK’ ‘MEGA CITY’ และ ‘DYNAMIC CHANGES’

21 ก.พ. 2561 | 02:50 น.
อัพเดตล่าสุด :21 ก.พ. 2561 | 09:58 น.
MP30-3342-2 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์นี้หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจและสปริงส์กรุ๊ปจะจัดสัมมนา “MEGA MOVE: พลิกโฉมมหานครกรุงเทพฯ” ครั้งสำคัญของ “GREATER BANGKOK” ของเรา ซึ่งได้รับเลือกว่ากำลังจะเป็นเมือง “มหานครแห่ง ASIA” เทียบเท่า TOKYO เซี่ยงไฮ้ แม้กระทั่ง SEOUL ของเกาหลี หรือ NEW YORK และ LONDON

“GREATER BANGKOK” จะมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน UNITED NATIONS คำนวณว่าปริมณฑล 5 จังหวัด จะรวมถึง 18 ล้านคน น้องๆ TOKYO (25 ล้านคน) ทั้งมีนักท่องเที่ยวอีกปีละ 25 ล้านคน (จาก 35 ล้านคนทั่วประเทศ) มหานคร BANGKOK จะเป็น MEGA CITY อันดับที่ 20 ของโลก

กรุงเทพมหานครในอดีตปรับตัวเองไม่ทัน ล้าหลังหลายประเทศที่เปลี่ยนตัวเองเข้าสู่โลกสมัยใหม่ ซึ่งขณะนี้โลกกำลังก้าวสู่ 3.0 DIGITAL WORLD และกำลังก้าวสู่ 4.0 โลกแห่ง AUTOMATION อย่างรวดเร็ว

ในรอบ 10 - 20 ปี ที่ผ่านมา GREATER BANGKOK เริ่มปรับตัวเร็วขึ้น รองรับปัญหาต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร 5 ปัญหาหลัก คือ 1. จราจร 2. สิ่งแวด ล้อม 3. คนจนเมือง 4. นํ้าท่วมเมือง และ 5. อาชญากรและความปลอดภัย ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าจะมี 5 ปัญหาเป็นประเด็นหาเสียง คราวนี้จะมีการเลือกตั้งปลายปี ก็จะหนีไม่พ้น 5 ปัญหานี้ แต่ละผู้ว่าและพรรคการเมืองที่สนับสนุนจะเสนอวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร

ในยุคศตวรรษนี้ GREATER BANGKOK จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว DYNAMIC CHANGES ของการเปลี่ยนจะเร็วกว่า 10 ปีที่ผ่านมา 1 เท่าตัว สิ่งที่เป็นแรงของการเปลี่ยนแปลง คือ “คนเมือง” (URBANIZATION PROCESS) โดยเฉพาะเมืองใหญ่ MEGA CITY เช่น กรุงเทพมหานคร สิ่งอำนวยความสะดวกก็จะรองรับไม่ทัน

MP30-3342-1 คนเข้ามาเป็นคนเมืองต้องการอะไร??? แน่นอนปัจจัย 4 ของชีวิต และเพิ่มด้วยความสะดวกสบาย และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การขนส่งคมนาคม การเดินทางจะเป็นปัจจัยแรกที่จะทำให้ GREATER BANGKOK สะดวกติดต่อกันง่าย นั่นคือ “ระบบขนส่งมวลชน” เป็นอันดับแรก เรากำลังปรับจากระบบถนนมาเป็นระบบราง “RAIL” จะมี 10+3 สาย และจะเพิ่มอีก 3 สายในระยะเวลาอันใกล้ รวมระยะทางยาว 450 กิโลเมตร

คนกรุงเทพมหานครเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน 60% และจะเพิ่มเป็น 80% อย่างรวดเร็ว ประชากรวันวันหนึ่งจะเดินทางมากกว่า 100 ล้านทริป มีระบบขนส่งมวลชนรางยาวแค่ 450 กิโลเมตร เข้ามาตรฐานเมืองใหญ่ของโลก แต่ยังไม่พอที่จะเป็นมหานครใน ASIA ปักกิ่ง TOKYO LONDON PARIS จะต้องมีขนส่งรางระยะทางยาวถึง 600 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานมหานครทั่วโลก

ขณะนี้คนกรุงเป็นคนชั้นกลางมากขึ้น มีการศึกษาดีมากขึ้น มีความรู้รอบทั่วโลกด้วยสังคมข่าวสาร IT และใช้ชีวิตผ่าน DIGITAL WORLD มากขึ้น เราต้องเร่งปรับ MEGA CITY กรุงเทพมหานครให้เร็วขึ้นอีก เพราะการเปลี่ยนแปลงขณะนี้เป็น DYNAMIC CHANGES ที่รวดเร็ว ทั้งด้าน TECH ECONOMY และคุณภาพชีวิต

ผู้คนใน GREATER BANGKOK จะอยู่กระชับขึ้น ทุกสถานีของ MASS TRANSIT จะเป็นศูนย์กลางของการอยู่อาศัยและการดำเนินชีวิต เหมือนเมืองใหญ่อื่น ๆ คนกรุงจะอยู่ในทางสูง (HI RISE) รอบสถานี ผังเมืองกรุงเทพฯใหม่ก็จะปรับ ปรุง การให้ที่ดินที่เรียกว่า “TOD” (TRANSIT ORIENTED DEVELOPMENT) และกระจายออกไปชานเมือง ซึ่งเราจะได้เห็นการกระจายเป็นศูนย์กลางเมืองตามสถานีปลายทางเป็นเมืองใหญ่มากขึ้นเหมือนยุโรป

TOD ของกรุงเทพมหา นครก็จะแบ่งเป็น TOD ที่มีรถไฟฟ้าจำนวนมาก มารวมตัวกับหลายสาย TOD ระดับแรก เป็นสถานีหลัก GRAND STATION ของบางซื่อ อันดับ 2 คือ มักกะสัน อันดับที่ 3 คือสถานีแม่นํ้า (คลองเตย) จะมีสถานีระดับรองที่มี 2 สายมาเจอกัน เช่น สยามสแควร์ สุขุมวิท จตุจักร และ TOD ระดับ 3 คือที่มีสถานีเดียวอีกร่วม 40 สถานี

ผู้ประกอบการก็จะมุ่งไปที่สถานีเหล่านี้พัฒนาเป็นเมืองขึ้นแนวสูงติดต่อกันเป็น NETWORK ทั้งกรุงเทพมหานครและ 5 จังหวัดโดยรอบ ชีวิตคนเมืองจะเป็นคนชั้นกลาง และจะไม่เปลี่ยนไปเป็นเมืองแนวราบอีกต่อไป

บาร์ไลน์ฐาน นอกจากนั้น TECHNOLOGY สมัยใหม่จะเข้ามามากมายและรวดเร็ว เช่น DIGITAL WORLD ทั้งหลาย SMART PHONE/ FIN-TECH/INTERNET/ WIFI / CCTV กรุงเทพมหานครก็จะเป็นเมืองแห่ง “E-CITY” เหมือนกรุงโซลของเกาหลี เสาร์-อาทิตย์ วันหยุดก็จะออกไปเพิ่มพลังชีวิตนอกเมือง ไปหาธรรมชาติ ไปหา SLOW LIFE เหมือนเมืองใหญ่ทั่วโลก และกลับเข้ามาทำงาน MEGA CITY ต่อไป

คำถามคือ เราพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหรือยัง หรือยังทะเลาะกันอยู่หลังเลือกตั้ง ระบบคมนาคมก็จะเป็นประเด็นแรกที่สำคัญยิ่ง สิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิตก็จะตามมา เช่น ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะ ที่ทำงาน ที่พักผ่อน ความปลอด ภัยในชีวิตที่มีระบบ “SMART CITY” จะปรากฏขึ้นทุกที่สาธารณะ ต้องมีระบบตรวจสอบความปลอดภัย รวมทั้งภาคเอกชนที่มีพื้นที่เชิงสาธารณะ จะถูกดึงเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น จะช่วยเร่งกระตุ้นหมุนเวียนด้านธุรกิจ เศรษฐกิจจะดีขึ้น กรุงเทพ มหานครสร้าง GREATER BANGKOK สูงถึง 36% ของประเทศ แต่คุณภาพชีวิตก็จะแย่ลง เราจะต้องใช้ TECH มาปรับให้ได้ โดยการสัมมนาครั้งนี้จะนำประเด็นแรกคือ การเดินทางความสะดวกสบาย เสนอต่อประชาชนใน GREATER BANGKOK ต่อๆ ไป จะต้องนำเรื่องเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตมาสู่ประชาชนด้วยครับ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว